ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ และหลอดเลือด ตั้งแต่การป้องกัน การตรวจวินิจฉัย และการรักษาจากทีมแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจที่มีประสบการณ์ในหลากหลายอนุสาขา รวมถึงเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากลที่พร้อมดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง

 

เวลาทำการ

  • เปิดให้บริการทุกวัน 08.00-20.00 น.

 

โครงสร้างของศูนย์หัวใจโรงพยาบาลนวเวชประกอบด้วย

  • คลินิกโรคหัวใจ (Cardiology Clinic)
  • ห้องปฏิบัติการวินิจฉัยหัวใจ และหลอดเลือด (Noninvasive Cardiovascular Laboratory)
  • ห้องสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Laboratory) 
  • หอผู้ป่วยวิกฤติโรคหัวใจ (Cardiac Care Unit)
  • ห้องผ่าตัดหัวใจ (Cardiovascular Operating Room) ทั้งหมดอยู่ภายในพื้นที่เดียวกันตั้งอยู่ที่ชั้น 4 ของโรงพยาบาลนวเวช  

 

คลินิกโรคหัวใจ (Cardiology Clinic) และห้องปฏิบัติการวินิจฉัยหัวใจ และหลอดเลือด (Noninvasive Cardiovascular Laboratory) 

มีแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจออกตรวจในหลากหลายสาขาได้แก่ อายุรแพทย์โรคหัวใจทั่วไป อายุรแพทย์โรคหัวใจอนุสาขาคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ อายุรแพทย์โรคหัวใจอนุสาขาหัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด อายุรแพทย์โรคหัวใจอนุสาขาสรีระไฟฟ้าหัวใจ และศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก ให้การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ซับซ้อน รวมทั้งการตรวจประเมินปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของโรคหัวใจแบบองค์รวม ให้คำแนะนำการรักษาในการรักษาแบบผู้ป่วยนอกโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด มีระบบติดตามอาการ และการนัดหมายด้วยทีมพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์สูงในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ

 

การตรวจวินิจฉัยทีมแพทย์ของศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลนวเวชให้ความสำคัญกับการซักประวัติ และตรวจร่างกายระบบหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงพิจารณาการส่งตรวจสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ และเครื่องมือที่ทันสมัย  ได้แก่

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (12-lead electrocardiogram)
  • การตรวจภาวะโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Ankle Brachial Index)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางหน้าอก (Transthoracic Echocardiogram)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหาร (Transesophageal Echocardiogram)
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการเดินสายพาน (Treadmill Exercise Stress Test)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการออกกำลังกาย (Exercise Stress Echocardiogram)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงโดยใช้โดบูตามีนกระตุ้น (Dobutamine stress Echocardiogram)
  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง (Holter Monitoring)
  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง 24-72 ชั่วโมงด้วยอุปกรณ์พิเศษที่สามารถออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ต่อเนื่องแบบเรียลไทม์ 
    (S-Patch Ex)
  • การทดสอบระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจและหลอดเลือดด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt Table Test)
  • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หัวใจ (Spectral Computed Tomography) สำหรับการตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ (CAC Score) การตรวจหลอดเลือดหัวใจผ่านการฉีดสารทึบรังสี (Coronary CT Angiogram) การตรวจโครงสร้างหัวใจ (Cardiac CT)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI 3 Tesla)
     

ห้องสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Labarotory)

เป็น Biplane Cath Lab ซึ่งทำให้ได้ภาพการฉีดสีเป็นสองระนาบพร้อมกัน ทำให้ได้ภาพที่แม่นยำ คมชัด รังสีต่ำ รวมถึงใช้สารทึบรังสีปริมาณน้อยลง โดยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงด้วยอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยพร้อมทีมแพทย์เฉพาะทาง และพยาบาลที่มีประสบการณ์สูง สามารถทำหัตถการเพื่อวินิจฉัย และรักษาโรคหัวใจ และหลอดเลือดซับซ้อนดังต่อไปนี้ 

 

1. หัตถการหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Intervention)

  • การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และใส่ขดลวดค้ำยันผ่านสายสวนฉุกเฉินในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน (Primary Percutaneous Coronary Intervention)*มีทีมแพทย์โรคหัวใจอนุสาขาหัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดตลอด 24 ชั่วโมง 
  • การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Diagnostic Coronary Angiogram)
  • การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และใส่ขดลวนค้ำยันผ่านสายสวน (Elective Percutaneous Coronary Intervention)
  • การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบตันเรื้อรัง 100% ด้วยเทคนิคเฉพาะผ่านลวดตัวนำ สายสวนชนิดพิเศษ กรอหินปูนในหลอดเลือดหัวใจด้วยหัวกรอขนาดเล็กผ่านสายสวน (Rotablator)
  • การใส่สายสวนวัดแรงดันในหลอดเลือดหัวใจ (Fractional Flow Reserve: FFR) ช่วยประกอบการตัดสินใจการขยายหลอดเลือดหัวใจในรายที่ผลการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจก้ำกึ่ง ช่วยลดการขยายหลอดเลือดหัวใจโดยไม่จำเป็น
  • การตรวจภายในหลอดเลือดหัวใจด้วยการถ่ายภาพคลื่นเสียงสะท้อน (Intravascular Ultrasonography: IVUS) และคลื่นสะท้อนความถี่สูงใกล้เคียงรังสีอินฟราเรด (Optical Coherence Tomography: OCT)

 

2. หัตถการหลอดเลือดร่างกายบริเวณอื่น

  • การฉีดสีดูหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง (Carotid Artery Angiogram) และการขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง (Carotid Artery Angioplasty)
  • การฉีดสีดูหลอดเลือดที่เลี้ยงเส้นเลือดส่วนปลายที่แขนหรือขา (Peripheral Angiogram) และการขยายหลอดเลือดเลี้ยงแขนขา (Percutaneous Transluminal Angiography)
  • การฉีดสีเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไต (Renal Artery Angiogram) และการทำขยายเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไต (Renal Angioplasty) 

 

3.หัตถการโครงสร้างและลิ้นหัวใจ (Structural Intervention)

  • การใส่สายสวนตรวจโครงสร้างของหัวใจข้างขวา และหลอดเลือดแดงปอด (Right Heart Catheterization) เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดบางชนิด โรคของหัวใจข้างขวา และโรคความดันเลือดปอดสูงผิดปกติ 
  • การตัดส่งตรวจชิ้นเนื้อหัวใจ (Endomyocardial Biopsy)
  • การฝังอุปกรณ์ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (Left Atrial Appendage Occluder)
  • การดูดลิ่มเลือดอุดตันที่เส้นเลือดปอด (Catheter-Directed Thrombectomy for Pulmonary Embolism) 
  • การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน (Transcatheter Aortic Valve Implantation: TAVI)
  • การซ่อมแซมลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วผ่านสายสวน (Transcatheter Mitral Valve Repair: TMVR)
  • การรักษาโรคหัวใจแต่กำเนิดผ่านทางสายสวน (Percutaneous Interventions for Adult Congenital Heart Disease) 

 

4. หัตถการสรีระไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Electrophysiology)

  • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiologic Study) เพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หาสาเหตุของอาการวูบหมดสติ ตรวจการทำงานของการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ และ ประเมินความเสี่ยงในโรคไฟฟ้าหัวใจบางชนิด
  • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจด้วยการสร้างภาพสามมิติของหัวใจโดยใช้สายเก็บสัญญาณความละเอียดสูง (Three-dimensional Electroanatomical Mapping) เพื่อวินิจฉัย และหาตำแหน่งผิดปกติเพื่อรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจผ่านสายสวนในรายที่จำเป็นต้องใช้ภาพสามมิติแสดงกายวิภาค และการนำไฟฟ้าของหัวใจอย่างละเอียด เช่น การจี้ไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว โรคสัญญาณไฟฟ้าแทรกผิดปกติและโรคไฟฟ้าหัวใจลัดวงจรในหัวใจห้องบน และห้องล่าง
  • การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจผ่านสายสวน (Radiofrequency Ablation) เป็นการทำลายเนื้อเยื่อที่มีกำเนิดหรือการนำไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจโดยใช้ความร้อนที่ปลายสายที่กำเนิดมาจากคลื่นวิทยุ ห้องสวนหัวใจโรงพยาบาลนวเวชทำการจี้ไฟฟ้าหัวใจในโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหลายชนิดได้แก่
    - Paroxysmal Supraventricular Tachycardia (PSVT)
    - Atrioventricular Nodal Reentrant Tachycardia (AVNRT)
    - Atrioventricular Reentry Tachycardia (AVRT) 
    - Typical and Atypical Accessory Pathway
    - Focal and Macroreentrant Atrial Tachycardia (Typical and Atypical Atrial Flutter) 
    - Atrial Fibrillation (PV isolation, CFAE ablation, Accessory Line and Non-PV trigger ablation)
    - Idiopathic Ventricular Arrhythmias
    - Scar-reentry Ventricular Tachycardia 

 

5. หัตถการฝังเครื่องกระตุ้นและเครื่องกระตุกหัวใจ (Cardiovascular Implantable Electronic Devices)

  • การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดชั่วคราว (Temporary Transvenous Pacemaker)
  • การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวรทั้งแบบหนึ่งและสองสาย (Single- and Dual- Permanent Transvenous Pacemaker)
  • การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวรแบบไร้สาย (Leadless Pacemaker) 
  • การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวรที่ระบบนำไฟฟ้าของหัวใจ (Conduction System Pacing)
  • การฝังเครื่องสมานฉันท์หัวใจ (Cardiac Resynchronization Therapy) ด้วยการฝังสายกระตุ้นหัวใจข้างซ้ายผ่านหลอดเลือดดำของหลอดเลือดหัวใจ และการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจที่ระบบนำไฟฟ้าหัวใจ (Conduction System Pacing) 

 

หอผู้ป่วยวิกฤติโรคหัวใจ (Cardiac Care Unit)

โรคหัวใจเป็นโรคที่ต้องการการรักษาโดยใช้ระยะเวลาอันรวดเร็ว และอาศัยความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ในการวินิจฉัย และรักษาโรค ทางโรงพยาบาลนวเวชจึงมีหอผู้ป่วยวิกฤติเฉพาะทางด้านโรคหัวใจ ที่มีอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมทีมแพทย์พยาบาลเฉพาะทางที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจอย่างแท้จริง ที่ประจำอยู่เพื่อดูแลคนไข้ตลอด 24 ชั่วโมง 

 

ห้องผ่าตัดหัวใจ (Cardiovascular Operating Room)

ด้วยทีมศัลยแพทย์ผ่าตัดหัวใจ และทีมพยาบาลผู้ช่วยผ่าตัดประสบการณ์สูงพร้อมให้การรักษาตลอด 24 ชั่วโมง และห้องผ่าตัดที่ครบครันด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย สามารถทำการผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft: CABG) ในรายที่มีข้อบ่งชี้เช่นมีรอยโรคในหลอดเลือดหัวใจหลายเส้น กายวิภาคของรอยโรคในหลอดเลือดหัวใจไม่เอื้อต่อการขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน การทำผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจไมตรัล ลิ้นหัวใจเอออร์ติก และลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Mitral Valve Repair, Mitral Valve Replacement, Aortic Valve Replacement, Tricuspid Valve Repair, Tricuspid Valve Replacement)

 

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

พญ.ณหทัย ฉัตรสิงห์
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
ข้อมูลแพทย์
นพ.วิพัชร พันธวิมล
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
ข้อมูลแพทย์
พญ.วริษฐา เล่าสกุล
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
ข้อมูลแพทย์
นพ.สุรเกียรติ ลีละศิธร
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
ข้อมูลแพทย์
นพ.เสถียรวิทย์ เร้าเสถียร
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
ข้อมูลแพทย์
นพ.ทินกฤต ศศิประภา
อายุรศาสตร์โรคระบบหัวใจ-Intervention
ข้อมูลแพทย์
นพ.ธีระ ผาติไกรศรี
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
ข้อมูลแพทย์
นพ.สนธิชัย จิรชัยสกุล
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ-สรีระวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
ข้อมูลแพทย์
นพ.กฤตพร พุ่มจันทน์
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ-ปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
ข้อมูลแพทย์
นพ.เหมือนเพชร เหมือนแก้ว
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ-ปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
ข้อมูลแพทย์
นพ.ประเวศ รุ่งจำรัสโสภา
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
ข้อมูลแพทย์